ประวัติบุคคลสำคัญ
ในวงการของคอมพิวเตอร์
ในวงการของคอมพิวเตอร์
Charles babbage
Charles
Babbage
ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine เมื่อปี ค.ศ. 1822 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนและคำอนุญาตจากรัฐบาล เมื่อปี ค.ศ.
1823 แต่อย่างไรก็ตาม
เครื่องดังกล่าวของแบบเบจก็สร้างได้ไม่สมบูรณ์แบบ
เหตุผลหนึ่งที่แบบเบจตัดสินใจหยุดโครงการพัฒนาเครื่อง Difference Engine
เนื่องจากได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณของเครื่องดังกล่าวจนกระทั่งต่อมา
แบบเบจก็ได้ทำการพัฒนาเครื่องใหม่ภายใต้ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น
เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู
(Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง
Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชันหน้าที่หลายๆ
อย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน
ดังนั้นแบบเบจจึงถูกขนานนามให้เป็น“บิดาแห่งคอมพิวเตอร์”
เป็นต้นมา
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ชาลส์_แบบบิจ
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ชาลส์_แบบบิจ
Lady Augusta Ada Byron 
Lady Augusta Ada Byron เธอเป็นสตรีคนสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยออกแบบเครื่องของแบบเบจ อีกทั้งยังได้เสนอแนวคิดและเป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมชิ้นแรกเพื่อใช้กับเครื่องดังกล่าว ต่อมาเธอก็ได้ถูกขนานนามให้เป็น“โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก”นอกจากนี้ก็ยังได้มีการตั้งชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งด้วยการใช้ชื่อของเธอ นั่นก็คือ ภาษาเอด้า (Ada) นั่นเอง
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/เอดา_เลิฟเลซ
Herman Hollerith 
Herman
Hollerith
ในปี ค.ศ. 1887 ได้ทำการพัฒนาเครื่อง
Tabulating Machines ขึ้น ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู
สามารถจัดเรียงบัตรมากกว่า 200 ใบต่อนาที
และก็ได้นำมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากรของชนอเมริกันหลายครั้งด้วยกัน และต่อมาในปี
ค.ศ. 1896 เฮอร์แมนก็ได้ทำการก่อตั้งบริษัทตนเองขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า The
Tabulating Machine Company และอีกไม่นานต่อมาก็ได้ทำการรวมบริษัทกว่า 10 แห่งด้วยกันและก่อตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อว่า International
Business Machines ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งก็คือบริษัท
IBM นั่นเอง
ที่มา:http://www.learn-math.info/thai/historyDetail.htm?id=Hollerith


Alan Turing ทัวริง ทำปริญญาโท และปริญญาเอก ที่ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน แล้วเสนอความคิดออกแบบเครื่องจักรทัวริง (Universal Turing Machine) โดยในยุคนั้น ไม่ได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์ แต่เรียกว่าเป็นเครื่องคำนวณ ที่สามารถป้อนข้อมูลได้ และเขาได้สร้างเครื่องเข้ารหัส (cipher machine) โดยใช้รีเลย์แม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับคูณเลขฐานสอง ทัวริงทำงานให้กับ "British Cryptanalytic department" รวมทั้งทำงานด้าน"ordinal logic"เพราะเชื่อว่าคนสามารถตอบโต้ต่อเหตุการณ์ได้ โดยไม่ต้องคำนวณ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมันโดยเป็นหัวหน้ากลุ่ม Hut 8 เพื่อทำหน้าที่ แกะรหัสเครื่องอีนิกมา (Enigma Cipher Machine) ที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ
หลังสงครามโลก ทัวริงออกแบบ เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเขียนโปรแกรมได้เครื่องแรก ๆ ของโลก ที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ ซึ่งรางวัลทัวริงถูกตั้งขึ้น เพื่อยกย่องเขา
ในปี พ.ศ.2489 ทัวริงคิดโครงการ เครื่องคำนวณ (computation machine) ที่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ จาก numerical work เป็น algebra เป็น code breaking เป็น file handling หรือแม้กระทั่งเกมส์ ปี พ.ศ.2517 ทัวริง เสนอว่าต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ ต้องขยายตัว เป็นชุดคำสั่งย่อยๆ โดยใช้รูปย่อแบบ รหัสย่อ (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของภาษาโปรแกรม) แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน เขาจึงพักงาน ด้านคณิตศาสตร์ไม่ทำงานด้านเทคโนโลยี แต่เปลี่ยนไปสนใจเรื่อง "neurology" กับ "physiology sciences" และออกบทความเรื่อง "เครือข่ายประสาท"
ต่อมาทีมงานเก่าของทัวริง ที่ย้ายไปอยู่ ที่มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ ได้เชิญเขาไปเป็น หัวหน้าภาควิชาใหม่ โดยเน้นงาน ด้านซอฟแวร์ พร้อมกับออกบทความ วิชาการเรื่อง "Computer Machine and Intelligence" ซึ่งนับว่า เป็นรากฐาน ของแนวคิดพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ในวงการคอมพิวเตอร์ และในปี พ.ศ.2494 ทัวริงออกบทความเรื่อง "The Chemical Basis of Morphogenesis"
โดยผลงานเด่นๆ ของเขา เช่น การคิดโมเดล ที่สามารถทำงานได้ เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียนและลบ รวมทั้งรูปแบบที่เป็นทางการคณิตศาสตร์ ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ ด้วยเครื่องจักรทัวริง
แอลัน ทัวริง (Alan Turing) บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ เสนอบทความเรื่อง "On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem" เพื่อใช้ในการตีพิมพ์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2479
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/แอลัน_ทัวริง
Konrad Zuse 
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/วิทยาการคอมพิวเตอร์
Prof. Howard H. Aiken 
ที่มา :http://www.oknation.net/blog/print.php?id=203119
Dr. John V. Atanasoff & Clifford Berry 
ที่มา :http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/page28.htm
Dr. John W. Mauchly & J. Presper Eckert 
Dr.
John W. Mauchly & J. Presper Eckert
ปี ค.ศ. 1946 ดร.จอห์น ดับบลิว มอชลี
(Dr. John W. Mauchly) และศาสตรา เจ เพรสเพอร์ เอ็คเคิร์ต
(J. Presper Eckert) ได้สร้างเครื่อง ENIAC
(Electronic Numerical Integrator And Calculator) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่อง MARK I โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC จำเป็นต้องใช้ห้องเพื่อติดตั้งที่มีขนาดถึง 30X50
ฟุต ตัวเครื่องมีหลอดสุญญากาศกว่า 18,000 หลอด
หนักกว่า 30 ตัน ใช้กำลังไฟฟ้า 150 กิโลวัตต์ บวกเลขได้ 5000 ครั้งต่อวินาที
ซึ่งประมวลได้เร็วกว่าเครื่อง MARK I กว่าหนึ่งพันเท่า
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/1946.htm
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/1946.htm
Dr. John Von Neumann 

Dr.
John Von Neumann
ได้สร้าง แนวคิดในการจัดเก็บโปรแกรม (Stored Program
Concept)โดยมีหน่วยความจำที่สามารถทำหน้าที่ในการจัดเก็บได้ทั้งข้อมูล
(Data) และชุดคำสั่ง (Instructions) และนอยมานน์ก็ได้ร่วมมือกับทีมงานเดิมที่ได้สร้างเครื่อง ENIVAC
เพื่อสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ EDVAC (Electronic Discrete
Variable Automatic Computer) และ EDSAC (Electronic Delay
Storage Automatic Computer) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ
ที่ใช้ แนวความคิดในการจัดเก็บโปรแกรมเป็นต้นมา
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/จอห์น_ฟอน_นอยมันน์
Dr. Ted Hoff 
Dr. Ted
Hoff
ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted
Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ชื่อรุ่นคือ
Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้จึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย
ที่มา:http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/
computer/evolution/1971.htm
Steve Jobs & Steve Wazniak 
Steve Jobs & Steve Wazniak
สตีเฟน แกรี่ วอซเนียก หรือ สตีฟ วอซเนียก บ้างก็เรียก สตีฟ
โวสนิแอกชื่อเล่นว่า "Woz"(วอซ) วันเกิด วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2493
ในแซนโฮรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลสำคัญในบริษัทแอปเปิล
บริษัทคอมพิวเตอร์ เขาเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้ก่อตั้งร่วมกันของแอปเปิลคอมพิวเตอร์
และเป็นผู้สร้างคอมพิวเตอร์ Apple I และ Apple
II
ปี 1970 วอซเนียกได้รู้จักกับสตีฟ
จ๊อบส์เนื่องจากมีงานฤดูร้อนในธุรกิจเดียวกัน
และกลายเป็นเพื่อนกันในที่สุดจ๊อบส์และวอซเนียกได้ขาทรัพย์สินบางส่วนได้เงินประมาณ
1,300 เหรียญและได้ร่วมกันประกอบคอมพิวเตอร์ต้นแบบซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแอปเปิ้ล
1 เมษายน 1976 จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple Computer โดยที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard และทำงานในแผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล
ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้กับ
Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า
Byte Shop ในเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย ปี 1980 แอปเปิ้ลเป็นที่โด่งดังและทำให้จ๊อบส์และวอซเนียกกลายเป็นมหาเศรษฐี โดยสตีฟ
จ๊อบส์ได้อนุญาตที่จะให้พนักงานบางส่วนของได้ซื้อหุ้นของ Apple ดั้งนั้นวอซเนียกจึงตัดสินใจที่จะแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งของตนออกไปปี
1983 เขาตัดสินใจกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแอปเปิ้ล
แต่เขาไม่ต้องการบทบาทในบริษัทฯมากไปกว่าของวิศวกรคอมพิวเตอร์วอซเนียกได้สิ้นสุดการเป็นพนักงานจ้างเต็มเวลากับ
Appleในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1987
เป็นเวลากว่า 12 ปีหลังจากการก่อตั้งบริษัท
แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารบริษัท
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/สตีฟ_วอซเนียก
Bill Gates 
Bill Gates ประวัติ บิลล์ เกตส์ [ผู้ก่อตั้ง บริษัทไมโครซอฟท์] วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิลล์ เกตส์) X เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิกซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับ เครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับนายพอล อัลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้นซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร และหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิลล์ เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน, วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน (KBE) จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น